Context Clues การเดาความหมายจากบริบท
context = ปริบทหรือบริบท , clue = ตัวชี้แนะ อุปสรรคที่มักพบบ่อยๆ
ในการอ่านภาษาอังกฤษ ก็คือ การไม่รู้ความหมายของคำศัพท์ ทำให้ไม่สามารถเข้าใจข้อความที่อ่าน
ไม่สามารถตีความโจทย์ข้อสอบได้ อ่านไม่เข้าใจ ทำข้อสอบได้ไม่ดี วิธีที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ก็คือ ต้องรู้ความหมายศัพท์และสามารถนำไปใช้ได้ แต่การรู้ความหมายศัพท์โดยไม่ต้องเปิดพจนานุกรม (Dictionary) นั้น ทำได้อย่างไร คำตอบก็คือ นักเรียนมีความจำเป็นที่จะต้องเดาความหมายนั้นจากบริบท (Context)
ซึ่งหมายถึง ข้อความ หรือศัพท์หลายๆ คำซึ่งแวดล้อมคำศัพท์ตัวที่เราไม่รู้ความหมาย แล้วทำให้เดาความหมายของศัพท์ที่ไม่รู้ได้ บริบทเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเข้าใจคำศัพท์ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะ ความหมายของคำ คำใดคำหนึ่งนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับคำอื่นๆ ซึ่งอยู่ข้างเคียงด้วย เช่น คำว่า "about" We know about that. (about = concerning) แต่ถ้า It is about six o'clock. (about = close to) เป็นต้น
ผู้อ่านสามารถตีความหมายได้โดยอาศัยสิ่งแนะที่อยู่ในปริบท (Context Clues) สิ่งชี้แนะหรือตัวสัญญาณ (Clues / signal words) สามารถช่วยชี้แนะความหมายของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยให้กับผู้อ่านได้อย่างถูกต้องตรงตามปริบท สิ่งชี้แนะหรือตัวสัญญาณที่สำคัญได้แก่
1. Definition type (การให้คำนิยาม)
2. Restatement type (การกล่าวซ้ำ)
3. Example type (การยกตัวอย่าง)
4. Comparison or Contrast type (การเปรียบเทียบ หรือ บอกความแตกต่าง)
5. Cause and Effect relationship type (การใช้ความสัมพันธ์ในเรื่องเหตุและผล)
6. Explanation type (การอธิบาย)
7. Modifier type (การใช้ตัวขยาย)
8. Subjective type (การใช้เนื้อเรื่อง)
9. Familiar type (การใช้คำที่คุ้นเคยที่มีความหมายใกล้เคียง)
Text book writers usually know when they must use a word that will be new to their student readers. So they often include other words or phrases to help with the understanding of the new word. These words or phrases are referred to as context clues. They are built into the sentences around the difficult word. If you become more aware of the words around the difficult words you encounter in your reading, you will save your self many trips to the dictionary. You will be able to make logical guesses about the meanings of many words.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น